วันเสาร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บุคคลสาธารณะกับสังคมออนไลน์


บุคคลสาธารณะกับสังคมออนไลน์






สืบเนื่องจากพัฒนาการทางสังคมโลกอินเทอร์เน็ตตลอดจนเทคโนโลยีที่มีความเจริญก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง กระแสความสนใจในเรื่อง “Social Media” หรือ สังคมออนไลน์”  เป็นสิ่งที่สังคมให้ความสนใจและกล่าวถึงกันอย่างแพร่หลาย  Social Media มีตั้งแต่  Blog  Twitter  Facebook   Youtube   Photo Sharing, ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของแต่ละคนที่จะเลือกใช้ Social Media ในรูปแบบใด



บุคคลสาธารณะ  คือ


บุคคลที่อยู่ในความสนใจของสาธารณชนทั่วไป  ซึ่งบุคคลประเภทนี้ถือว่า  ได้สละสิทธิที่จะดำเนินชีวิตโดยปราศจากการสังเกตจับตามองของสื่อมวลชน และจะได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายในความเป็นส่วนตัวน้อยกว่าบุคคลทั่วไป  เช่น  ดารา  นักร้อง  นักแสดง  นักการเมือง  นักกีฬา





แต่ไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้ Social Media ด้วยวัตถุประสงค์อะไร สิ่งหนึ่งที่ผู้ใช้ยังอาจขาดความระมัดระวัง คือ เรื่องการแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ บุคคลสาธารณะ (Public Figures)” ผ่านสื่อต่างๆ จึงเกิดคำถามว่า คนทั่วไปสามารถที่จะแสดงความคิดเห็นในเชิงวิพากษ์วิจารณ์บุคคลเหล่านี้ได้หรือไม่ เพียงใดจึงจะไม่เป็นหมิ่นประมาท

โดยพื้นฐาน บุคคลทุกคนมี สิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ได้ให้การรับรองและคุ้มครองไว้อย่างชัดเจน

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 45 วรรคหนึ่ง
บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น...

อย่างไรก็ดี มิใช่ว่าคุณมีสิทธิและเสรีภาพแล้ว คุณจะใช้ได้อย่างเสรีเสียจนไร้ขอบเขต กฎหมายจะให้ความคุ้มครองแต่เฉพาะการแสดงความคิดเห็นที่อยู่บนพื้นฐานของความสุจริตและต้องไม่เป็นการใช้สิทธิของตนเองไปละเมิดสิทธิของผู้อื่นด้วย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 35
สิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง ตลอดจนความเป็นอยู่ ส่วนตัว ย่อมได้รับความคุ้มครอง
การกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความหรือภาพไม่ว่าด้วยวิธีใดไปยัง สาธารณชน อันเป็นการละเมิดหรือกระทบถึงสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ ส่วนตัว จะกระทำมิได้ เว้นแต่กรณีที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ...

เพราะแม้ว่าบุคคลสาธารณะจะเป็นบุคคลที่สังคมให้ความสนใจและสามารถที่จะวิพากษ์วิจารณ์ได้ แต่จะต้องไม่ลืมว่า ในความเป็นบุคคลสาธารณะนั้น เขายังมีอีกสถานะหนึ่ง คือ ความเป็นบุคคลไม่ต่างจากคนทั่วๆไป ที่ย่อมมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น