วันเสาร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บุคคลสาธารณะกับสังคมออนไลน์


บุคคลสาธารณะกับสังคมออนไลน์






สืบเนื่องจากพัฒนาการทางสังคมโลกอินเทอร์เน็ตตลอดจนเทคโนโลยีที่มีความเจริญก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง กระแสความสนใจในเรื่อง “Social Media” หรือ สังคมออนไลน์”  เป็นสิ่งที่สังคมให้ความสนใจและกล่าวถึงกันอย่างแพร่หลาย  Social Media มีตั้งแต่  Blog  Twitter  Facebook   Youtube   Photo Sharing, ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของแต่ละคนที่จะเลือกใช้ Social Media ในรูปแบบใด



บุคคลสาธารณะ  คือ


บุคคลที่อยู่ในความสนใจของสาธารณชนทั่วไป  ซึ่งบุคคลประเภทนี้ถือว่า  ได้สละสิทธิที่จะดำเนินชีวิตโดยปราศจากการสังเกตจับตามองของสื่อมวลชน และจะได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายในความเป็นส่วนตัวน้อยกว่าบุคคลทั่วไป  เช่น  ดารา  นักร้อง  นักแสดง  นักการเมือง  นักกีฬา





แต่ไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้ Social Media ด้วยวัตถุประสงค์อะไร สิ่งหนึ่งที่ผู้ใช้ยังอาจขาดความระมัดระวัง คือ เรื่องการแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ บุคคลสาธารณะ (Public Figures)” ผ่านสื่อต่างๆ จึงเกิดคำถามว่า คนทั่วไปสามารถที่จะแสดงความคิดเห็นในเชิงวิพากษ์วิจารณ์บุคคลเหล่านี้ได้หรือไม่ เพียงใดจึงจะไม่เป็นหมิ่นประมาท

โดยพื้นฐาน บุคคลทุกคนมี สิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ได้ให้การรับรองและคุ้มครองไว้อย่างชัดเจน

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 45 วรรคหนึ่ง
บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น...

อย่างไรก็ดี มิใช่ว่าคุณมีสิทธิและเสรีภาพแล้ว คุณจะใช้ได้อย่างเสรีเสียจนไร้ขอบเขต กฎหมายจะให้ความคุ้มครองแต่เฉพาะการแสดงความคิดเห็นที่อยู่บนพื้นฐานของความสุจริตและต้องไม่เป็นการใช้สิทธิของตนเองไปละเมิดสิทธิของผู้อื่นด้วย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 35
สิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง ตลอดจนความเป็นอยู่ ส่วนตัว ย่อมได้รับความคุ้มครอง
การกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความหรือภาพไม่ว่าด้วยวิธีใดไปยัง สาธารณชน อันเป็นการละเมิดหรือกระทบถึงสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ ส่วนตัว จะกระทำมิได้ เว้นแต่กรณีที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ...

เพราะแม้ว่าบุคคลสาธารณะจะเป็นบุคคลที่สังคมให้ความสนใจและสามารถที่จะวิพากษ์วิจารณ์ได้ แต่จะต้องไม่ลืมว่า ในความเป็นบุคคลสาธารณะนั้น เขายังมีอีกสถานะหนึ่ง คือ ความเป็นบุคคลไม่ต่างจากคนทั่วๆไป ที่ย่อมมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน




พรบ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ พ.ศ.2543



พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคคลื่นความถี่






สื่อมวลชนที่ทำงาน หรือ ต้องการจะทำงาน  ในองค์กรจัดสรรคคลื่นความถี่ต่างๆ   ควรมีความรู้ในเรืองเกี่ยวกับ พ.ร.บองค์กรจัดสรรคคลื่นความถี่  เพื่อเป็นข้อมูลที่จะประกอบวิชาชีพ  ข้อมูล เนื้อหาที่เรานำมาเสนอ  เป็นข้อมูลที่จำเป็น และเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยต่อผู้ที่ต้องการจะศึกษาในเรื่อง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคคลื่นความถี่



พระราชบัญญัติ
องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง
วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม
พ.ศ. ๒๕๔๓
                 
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓
เป็นปีที่ ๕๕ ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม

พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๔ มาตรา ๓๗ มาตรา ๓๙ มาตรา ๔๐ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๕ มาตรา ๕๐ และมาตรา ๕๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๓

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
คลื่นความถี่หมายความว่า คลื่นวิทยุหรือคลื่นแฮรตเซียนซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่ต่ำกว่าสามล้านเมกะเฮิรตซ์ลงมาที่ถูกแพร่กระจายในที่ว่างโดยปราศจากสื่อนำที่ประดิษฐ์ขึ้น
วิทยุโทรคมนาคมหมายความว่า วิทยุคมนาคมซึ่งเป็นการส่ง การแพร่หรือการรับเครื่องหมาย สัญญาณ ตัวหนังสือ ตัวเลข ภาพ เสียง รหัส หรือการอื่นใดซึ่งสามารถให้เข้าใจความหมายได้ด้วยคลื่นความถี่


วิทยุกระจายเสียงหมายความว่า การส่งหรือการแพร่เสียงด้วยคลื่นความถี่เพื่อให้บุคคลทั่วไปรับได้โดยตรง

วิทยุโทรทัศน์หมายความว่า การส่งหรือการแพร่ภาพและเสียงด้วยคลื่นความถี่ เพื่อให้บุคคลทั่วไปรับได้โดยตรง

โทรคมนาคมหมายความว่า การส่ง การแพร่ หรือการรับเครื่องหมายสัญญาณ ตัวหนังสือ ตัวเลข ภาพ เสียง รหัส หรือการอื่นใดซึ่งสามารถให้เข้าใจความหมายได้โดยระบบสาย ระบบคลื่นความถี่ ระบบแสง ระบบแม่เหล็กไฟฟ้าอื่น หรือระบบอื่น

กิจการกระจายเสียงหมายความว่า กิจการซึ่งให้บริการการส่งข่าวสารสาธารณะหรือรายการไปยังเครื่องรับที่สามารถรับฟังการให้บริการนั้นๆ ได้ ไม่ว่าจะส่งโดยผ่านระบบสาย ระบบคลื่นความถี่ ระบบแสง ระบบแม่เหล็กไฟฟ้าอื่น หรือระบบอื่น ระบบใดระบบหนึ่ง หรือหลายระบบรวมกัน หรือกิจการกระจายเสียงตามที่มีกฎหมายบัญญัติหรือตามที่คณะกรรมการร่วมกำหนดให้เป็นกิจการกระจายเสียง

กิจการโทรทัศน์หมายความว่า กิจการซึ่งให้บริการการส่งข่าวสารสาธารณะหรือรายการไปยังเครื่องรับที่สามารถรับชมการให้บริการนั้นๆ ได้ ไม่ว่าจะส่งโดยผ่านระบบสาย ระบบคลื่นความถี่ ระบบแสง ระบบแม่เหล็กไฟฟ้าอื่น หรือระบบอื่น ระบบใดระบบหนึ่ง หรือหลายระบบรวมกัน หรือกิจการโทรทัศน์ตามที่มีกฎหมายบัญญัติหรือตามที่คณะกรรมการร่วมกำหนดให้เป็นกิจการโทรทัศน์

กิจการโทรคมนาคมหมายความว่า กิจการซึ่งให้บริการการส่ง การแพร่ หรือการรับเครื่องหมาย สัญญาณ ตัวหนังสือ ตัวเลข ภาพ เสียง รหัส หรือการอื่นใด ซึ่งสามารถให้เข้าใจความหมายได้โดยระบบสาย ระบบคลื่นความถี่ ระบบแสง ระบบแม่เหล็กไฟฟ้าอื่น หรือระบบอื่น ระบบใดระบบหนึ่ง หรือหลายระบบรวมกัน หรือกิจการโทรคมนาคมตามที่มีกฎหมายบัญญัติหรือตามที่คณะกรรมการร่วมกำหนดให้เป็นกิจการโทรคมนาคม
กิจการวิทยุคมนาคมหมายความว่า กิจการซึ่งเป็นการส่ง การแพร่ หรือการรับเครื่องหมาย สัญญาณ ตัวหนังสือ ตัวเลข ภาพ เสียง รหัส หรือการอื่นใด ซึ่งสามารถให้เข้าใจความหมายได้โดยระบบคลื่นความถี่ เพื่อความมุ่งหมายทางโทรคมนาคมโดยเฉพาะ

ค่าธรรมเนียมหมายความว่า ค่าตอบแทนการใช้คลื่นความถี่ ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการ รวมทั้งค่าธรรมเนียมอื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติหรือตามที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือคณะกรรมการร่วม แล้วแต่กรณี กำหนด
ตารางกำหนดคลื่นความถี่หมายความว่า การกำหนดย่านความถี่วิทยุของกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการวิทยุโทรทัศน์และกิจการวิทยุคมนาคมสำหรับกิจการใดกิจการหนึ่งหรือหลายกิจการ หรือกิจการวิทยุดาราศาสตร์เพื่อใช้งานภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด

แผนความถี่วิทยุหมายความว่า การกำหนดช่องความถี่วิทยุสำหรับกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการวิทยุโทรทัศน์หรือกิจการวิทยุคมนาคมเพื่อใช้งานภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด
จัดสรรความถี่วิทยุหมายความว่า การอนุญาตให้สถานีวิทยุกระจายเสียง สถานีวิทยุโทรทัศน์หรือสถานีวิทยุคมนาคมใช้ความถี่วิทยุหรือช่องความถี่วิทยุตามตารางกำหนดความถี่วิทยุหรือแผนความถี่วิทยุเพื่อใช้งานภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด

กรรมการหมายความว่า กรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติหรือกรรมการร่วม แล้วแต่กรณี
พนักงานเจ้าหน้าที่หมายความว่า ผู้ซึ่งคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติหรือคณะกรรมการร่วม แล้วแต่กรณี แต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา


มาตรา ๔ บรรดากฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่น ในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน




วันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ประมวลกฏหมายอาญา ความผิดฐานหมิ่นประมาท



ความผิดฐานหมิ่นประมาท






การหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยเจตนา  ไม่ว่าด้วยวิธการสื่อความหมายด้วยวิธีการใดก็ตาม  มีความผิดทางประมวลกฎหมายอาญา  ความผิดฐานหมิ่นประมาท  การหมิ่นประมาทจะเกิดขึ้นต้องมี "ผู้กล่าวหา  ผู้ถูกกล่าวหา  บุคคลที่สาม"  เราจึงนำกฎหมายเกี่ยวกับการหมิ่นประมาทมาให้ศึกษา  ว่ามีมาตราใดบ้าง  บทลงโทษใดบ้าง  ดังนี้


มาตรา 326* ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
*[มาตรา 326 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฏหมายอาญา (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2535 ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535]


มาตรา 327  ผู้ใดใส่ความผู้ตายต่อบุคคลที่สาม และการใส่ความนั้นน่าจะเป็นเหตุให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้ตายเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษดังบัญญัติไว้ในมาตรา 326 นั้น


มาตรา 328* ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฎไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษรกระทำโดยการกระจายเสียง หรือการกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท
*[มาตรา 328 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฏหมายอาญา (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2535 ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535]


มาตรา 329  ผู้ใดแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริต
(1) เพื่อความชอบธรรม  ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม
(2) ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่
(3) ติชม ด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ หรือ
(4) ในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรม เรื่องการดำเนินการอันเปิดเผยในศาลหรือในการประชุม
ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท


มาตรา 330  ในกรณีหมิ่นประมาท ถ้าผู้ถูกหาว่ากระทำความผิด พิสูจน์ได้ว่าข้อที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นความจริง ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ
แต่ห้ามไม่ให้พิสูจน์ ถ้าข้อที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัว และการพิสูจน์จะไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน


มาตรา 331  คู่ความ หรือทนายความของคู่ความ ซึ่งแสดงความคิดเห็น หรือข้อความในกระบวนพิจารณาคดีในศาลเพื่อประโยชน์แก่คดีของตน ไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท


มาตรา 332  ในคดีหมิ่นประมาทซึ่งมีคำพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดศาลอาจสั่ง
(1) ให้ยึด และทำลายวัตถุหรือส่วนของวัตถุที่มีข้อความหมิ่นประมาท
(2) ให้โฆษณาคำพิพากษาทั้งหมด   หรือแต่บางส่วนในหนังสือพิมพ์หนึ่งฉบับหรือหลายฉบับ ครั้งเดียวหรือหลายครั้ง โดยให้จำเลยเป็นผู้ชำระค่าโฆษณา


มาตรา 333  ความผิดในหมวดนี้เป็นความผิดอันยอมความได้
ถ้าผู้เสียหายในความผิดฐานหมิ่นประมาทตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดามารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย



ความหมายที่ได้บัญญัติไว้   โดยพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
พ.ศ. 2493 ให้ความหมายไว้ว่า พูดหาเหตุ หรือ กล่าวหาเรื่องร้ายให้ผู้อื่นได้รับ
ความเสียหาย
            ตามความหมายที่ชาวบ้านธรรมดาเข้าใจกัน ก็คือการใส่ความแก่กัน
ว่าใส่ร้ายหรือแสดงข้อความที่ไม่เป็นความจริง
            แต่ข้อเท็จจริงตามกฏหมายข้อความที่กล่าวแก่บุคคลอื่นนั้นแม้ที่กล่าว
ออกไปนั้นเป็นความจริงก็ผิดกฎหมายมีโทษได้
            การ ใส่ความในกฎหมายนั้นมิได้จำกัดแต่ว่าเอาเรื่องไม่จริง
ไปแต่งความใส่ร้ายเขาแต่มุ่งการเอาข้อความไปว่ากล่าวเขา ต้องเป็นการยืนยัน
ข้อเท็จจริงว่า เป็นข้อความแน่นอนเป็นเหตุให้ผู้อื่น เสียชื่อเสียงด้วยประการ
ต่าง ๆ   เช่น
            ดำบอกแดงว่า มีข่าวลือว่าขาว เป็นชู้กับเมียนายเขียว แม้ดำจะเชื่อว่า
ไม่จริง หรือเป็นความจริงก็ตาม ดำก็ผิดฐานหมิ่นประมาทแล้ว
            การหมิ่นประมาทต้องเป็นการกล่าว ใส่ความ” “ผู้อื่น
ต่อ บุคคลที่สาม”   ต้องมีบุคคลสามฝ่าย คือ
            1. ผู้กล่าว         2. ผู้อื่น         3. บุคคลที่สาม
เช่น
            ดำบอกแดงว่า แดงขโมยของเขียวไม่ผิดฐานหมิ่นประมาท เพราะไม่มี
บุคคลที่สาม แต่ถ้าดำบอกเหลืองว่า แดงขโมยของเขียว ดำผิดฐานหมิ่นประมาท
แล้ว เพราะเหลืองเป็นบุคคลที่สาม
            เมื่อมีการกล่าว การใส่ความ บุคคลที่สามแล้ว ประการสุดท้ายที่จะ
เป็นผิดฐานหมิ่นประมาทได้นั้น การใส่ความต้องทำให้ผู้ถูกใส่ความเสียหาย
ไม่ว่าจะเสียหายในชื่อเสียงถูกคนอื่นดูหมิ่น ถูกเกลียดชังก็ได้
สรุป ก็คือ จะเป็นผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องมีการกระทำดังนี้
         1. ใส่ความผู้อื่น
         2. ต่อบุคคลที่สาม
         3. ทำให้ผู้อื่นเสียหายในชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง






ความแตกต่างระหว่างกฎหมายอาญากับกฎหมายแพ่ง


ความแตกต่างระหว่างกฎหมายอาญา กับ กฎหมายแพ่ง






สืบเนื่องจากความสับสนของประชาชนทั่วไปที่ไม่ทราบว่าอะไรคือ คดีอาญา อะไรคือ คดีแพ่ง หรือถ้าเป็นคดีอาญาแล้วผลของมัน คืออะไร ถ้าเป็นคดีแพ่งแล้วผลของมัน คืออะไร ในวันนี้จึงอยากนำมาชี้แจงข้อสงสัยอย่างสรุปและได้ใจความ ดังต่อไปนี้



ความผิดทางอาญา คือ การกระทำที่โดยส่วนใหญ่มักจะเกี่ยวข้องกับเนื้อตัวร่างกายของผู้เสียหาย  อันมีผลกระทบการเทือนต่อความสงบเรียบร้อยศีลธรรมอันดีของประชาชน  รัฐจึงต้องลงโทษผู้กระทำผิด  ส่วนความรับผิดตามกฎหมายแพ่งนั้น  กฎหมายมีความประสงค์ที่จะคุ้มครองสิทธิของเอกชน  

ความผิดทางแพ่ง คือ มุ่งที่จะบำบัดความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่เอกชนคนหนึ่งคนใดโดยเฉพาะ  ซึ่งอาจได้รับความเสียหายแก่ชีวิต  ร่างกาย  จิตใจ  เสรีภาพ  ชื่อเสียง  ทรัพย์สิน  ความเสียหายได้เกิดขึ้นอย่างใด  กฎหมายก็ต้องการที่จะให้เขาได้รับการชดใช้ในความเสียหายอย่างนั้น  ถ้าทำให้คืนสภาพเดิมไม่ได้ก็พยายามจะให้ใกล้เคียงมากที่สุด


กฎหมายแพ่งมีหลักการสำคัญ  คือ


-    ความผิดทางแพ่งเป็นเรื่องระหว่างเอกชนต่อเอกชนด้วยกัน  ไม่มีผลเสียหายต่อสังคมแต่อย่างใด

-    ความผิดทางแพ่งเป็นเรื่องการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุคคล  ไม่มีการกำหนดโทษ  ดังเช่นคดีอาญา  (  ประหารชีวิต  จำคุก กักขัง  ปรับ  ริบทรัพย์สิน )  ดังนั้น  เมื่อผู้กระทำผิดหรือผู้ละเมิดตายลง  ผู้เสียหายย่อมฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายต่าง ๆ  จากกองมรดกของผู้กระทำผิดหรือผู้ละเมิดได้  เว้นแต่จะเป็นหนี้เฉพาะตัว  เช่น  แดงจ้างดำวาดรูป  ต่อมาดำตายลง  ถือว่าหนี้ระงับลง

-    ความรับผิดทางแพ่งนั้น  ไม่ว่ากระทำโดยเจตนาหรือประมาทผู้กระทำก็ต้องรับผิดทั้งนั้น  แตกต่างจากความรับผิดทางอาญา  คือ รับผิดทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำโดยเจตนา  เว้นแต่จะได้กระทำโดยประมาท

-    กฎหมายแพ่งต้องตีความตามตัวอักษร  หรือตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นๆ    ดังนั้น  การที่จะเป็นความผิดทางแพ่งนั้น  ศาลอาจตีความขยายได้



เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกฎหมายอาญากับกฎหมายแพ่ง




 1. ความผิดทางอาญาเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดผลเสียหายหรือเกิดความหวาดหวั่นคร้ามแก่บุคคลทั่วไป  ความผิดทางอาญาส่วนใหญ่จึงถือว่าเป็นความผิดต่อแผ่นดินหรือประขาชนทั่วไป
  ส่วนความผิดทางแพ่งเป็นเรื่องระหว่างเอกชนต่อเอกชนด้วยกัน  ไม่มีผลเสียหายต่อสังคมแต่อย่างใด


 2. กฎหมายอาญานั้นมีวัตถุประสงค์ที่จะลงโทษผู้กระทำความผิด  ฉะนั้น  หากผู้ทำผิดตายลง  การสืบสวนสอบสวน  การฟ้องร้อง หรือการลงโทษก็เป็นอันระงับลงไป
ส่วนความผิดทางแพ่งเป็นเรื่องการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุคคล  ดังนั้น  เมื่อผู้กระทำผิดหรือผู้ละเมิดตายลง  ผู้เสียหายย่อมฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายต่าง ๆ  จากกองมรดกของผู้กระทำผิดหรือผู้ละเมิดได้  เว้นแต่จะเป็นหนี้เฉพาะตัวเช่น  แดงจ้างดำวาดรูป  ต่อมาดำตายลง  ถือว่าหนี้ระงับลง


 3. ความรับผิดทางอาญาถือเจตนาเป็นใหญ่ในการกำหนดโทษ  เนื่องจากการกระทำผิดดังที่ประมวลกฎหมายอาญา  มาตรา 59 บัญญัติว่า  บุคคลจะต้องรับผิดทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำโดยเจตนา  เว้นแต่จะได้กระทำโดยประมาท  ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาท  หรือเว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทำโดยไม่มีเจตนา...
ส่วนความรับผิดทางแพ่ง  ไม่ว่ากระทำโดยเจตนาหรือประมาทผู้กระทำก็ต้องรับผิดทั้งนั้น


4. กฎหมายอาญาต้องตีความโดยเคร่งครัด  ถ้าไม่มีกฎหมายย่อมไม่มีความผิดและไม่มีโทษ  เพราะกฎหมายอาญามีโทษรุนแรง
ส่วนกฎหมายแพ่ง  หลักเรื่องตีความโดยเคร่งครัดไม่มี  กฎหมายแพ่งต้องตีความตามตัวอักษรหรือตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้น  ๆ  ดังนั้น  การที่จะเป้นความผิดทางแพ่งนั้น  ศาลอาจตีความขยายได้


5. ความรับผิดทางอาญา โทษที่จะลงแก่ตัวผู้กระทำผิดถึงโทษประหารชีวิต  จำคุก กักขัง  ปรับ  ริบทรัพย์สิน
ส่วนทางกฎหมายแพ่งนั้นไม่มีโทษ  เป็นเพียงถูกบังคับให้ชำระหนี้หรือชดใช้ค่าสินไหมทดแทน


 6. ความผิดทางอาญาส่วนใหญ่ไม่อาจยอมความได้  เว้นแต่ความผิดต่อส่วนตัวหรือที่กฎหมายอาญาบัญญัติไว้  ความผิดอันยอมความได้เช่น  ความผิดฐานหมิ่นประมาท  ความผิดฐานยักยอก  เป็นต้น  เหตุผลก็คือ  ความผิดทางอาญาถือว่าทำความเสียหายให้แก่มหาชน ทำลายความสงบสุขของบ้านเมือง  ผู้เสียหายจึงไม่อาจยกเว้นความรับผิดให้ได้
ส่วนความผิดทางแพ่ง  ผู้เสียหายอาจยกเว้นความรับผิดให้ได้โดยไม่นำคดีขึ้นฟ้องร้องต่อศาล  หรือเรียกร้องหนี้สินแต่อย่างใดเลย


7. ความผิดในทางอาญา  บุคคลที่ร่วมกระทำผิดอาจมีความรับผิดมากน้อยต่างกันตามลักษณะของการเข้าร่วม  เช่น  ถ้าเป็นผู้ลงมือกระทำผิดก็ถือเป็นตัวการ  ถ้าเพียงแต่ยุยงหรือช่วยเหลือก็อาจผิดเพียงฐานะผู้สนับสนุน
ส่วนความผิดทางแพ่ง  ผู้ที่ร่วมกันก่อหนี้ร่วมกันทำผิดสัญญาหรือร่วมกันทำละเมิดตลอดทั้งยุยงหรือช่วยเหลือ  จะต้องร่วมกับรับผิดต่อเจ้าหนี้หรือผู้ได้รับความเสียหายเหมือนกันหมด


8. ความรับผิดทางอาญา  การลงโทษผู้กระทำผิดก็เพื่อที่จะบำบัดความเสียหายที่เกิดขึ้นแต่ชุมชนเป็นส่วนรวม  เพื่อให้ผู้กระทำผิดเกิดความหลาบจำและกลับตัวกลับใจเป็นคนดี  อีกทั้งเพื่อป้องกันผู้อื่นมิให้เอาเยี่ยงอย่าง
ส่วนความรับผิดทางแพ่ง  กฎหมายมีวัตถุประสงค์ที่จะบำบัดความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่เอกชนคนหนึ่งคนใดโดยเฉพาะ  ซึ่งอาจได้รับความเสียหายแก่ชีวิต  ร่างกาย  จิตใจ  เสรีภาพ  ชื่อเสียง  ทรัพย์สิน  ความเสียหายได้เกิดขึ้นอย่างใด  กฎหมายก็ต้องการที่จะให้เขาได้รับการชดใช้ในความเสียหายอย่างนั้น  ถ้าทำให้คืนสภาพเดิมไม่ได้ก็พยายามจะให้ใกล้เคียงมากที่สุด