วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย

ความรู้เบื้อต้นเกี่ยวกับกฎหมาย



ก่อนที่เราจะไปเรียนรู้เรื่องกฎหมาย บทลงโทษ มาตราต่างๆ  เราจำเป็นต้องเรียนรู้และเข้าใจในเรื่องความหมาย และที่มาในเรื่องกฎหมายอย่างพอสังเขป  เราจึงได้หาข้อมูลจากแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือมาเป็นข้อมูลเบื้องต้น  ให้ได้ศึกษากันก่อนที่จะไปเรียนรู้เรื่องกฎหมายอย่างละเอียด


ความหมายของกฎหมาย


กฎหมาย  หมายถึง  คำสั่งหรือข้อบังคับควำมประพฤติของมนุษย์ในสังคม ซึ่งกำหนดขึ้นโดยผู้มีอำนำจในกำรปกครองประเทศ เพื่อใช้บังคับแก่ประชำชนทั่วไป ผู้ใดฝ่ำฝืนจะต้องได้รับโทษหรือสภำพบังคับอย่ำงใดอย่ำงหนึ่ง


ที่มาของกฎหมาย


 ในอดีต สังคมมีขนาดเล็ก ใช้จารีตประเพณี หลักศีลธรรม และข้อบังคับทางศาสนา เป็ฯกรอบในการควบคุมความประพฤติของสมาชิกในสังคม แต่ในปัจจุบัน สังคมมีขนาดใหญ่และซับซ้อน หลากหลายขึ้นมาก จึงจาเป็นต้องมีระเบียบกฎเกณฑ์และวิธีบังคับที่เป็นทางการ ซึ่งได้แก่ กฎหมาย นั่นเอง

ประเภทของกฎหมาย 


การแบ่งประเภทของกฎหมาย อาจแบ่งได้หลายลักษณะ ขึ้นอยู่กับผู้แบ่งว่าจะใช้อะไรเป็นเกณฑ์ ในที่นี้ ใช้เกณฑ์ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนเป็นหลักเกณฑ์ในการแบ่ง แบ่งกฎหมายออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 กฎหมายเอกชน ได้แก่ กฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างพลเมืองกับพลเมืองด้วยกัน หรือความสัมพันธ์ระหว่างพลเมืองกับรัฐ โดยรัฐย่อมมีฐานะเทียบเท่าประชาชน ปัจจุบันมีเพียงประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฉบับเดียวเท่านั้นที่ถือเป็นกฎหมายเอกชน

2 กฎหมายมหาชน ได้แก่ กฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน ในฐานะที่รัฐเป็นผู้ปกครอง จึงต้องมีอานาจบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสงบสุข ปัจจุบันมีกฎหมายมหาชนจานวนมากที่สื่อมวลชนต้องสัมผัสและเกี่ยวข้อง เช่น รัฐธรรมนูญ ประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกากับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เป็นต้น


การใช้กฎหมาย


 มีหลัก 2 ประการ คือ

1.การใช้กฎหมายในทางทฤษฎี จะวิเคราะห์ถึงประเด็นสาคัญดังต่อไปนี้
        -1) การใช้กฎหมายที่เกี่ยวกับบุคคล คือ จะใช้กับบุคคลใดซึ่งสามารถสรุปได้ว่าจะต้องใช้กฎหมายกับบุคคลไทยที่อยู่ในราชอาณาจักรไทยเท่านั้น แต่มีข้อยกเว้นเกี่ยวกับการไม่ใช้กฎหมายกับบุคคลบางประเภท
         -2) การใช้กฎหมายเกี่ยวกับเวลา คือ ใช้กฎหมายในเวลาที่มีผลในเวลาที่ ประกาศหรือมีผลย้อนหลังจากการประกาศใช้ หรือใช้บังคับหลังจากการประกาศใช้บังคับแล้ว 3) การใช้กฎหมายเกี่ยวกับสถานที่ คือ ในกฎหมายในราชอาณาจักร ขอบเขต พื้นที่สถานที่ คือพื้นดิน พื้นน้า พื้นอากาศ ที่อยู่ในอานาจอธิปไตยของไทยรวมทั้งเรือ เครื่องบิน ที่มีสัญชาติไทย ถือว่ามีการกระทาความผิดในประเทศ เป็นต้น

2. การใช้กฎหมายในทางปฏิบัติ การใช้กฎหมายในทางปฏิบัติจะมีลักษณะใกล้เคียงกับการตีความตามกฎหมาย การได้กฎหมายในทางปฏิบัตินั้นมีใครบ้างเป็นผู้ใช้กฎหมายดังกล่าว ซึ่งได้แก่ ประชาชน พนักงานเจ้าหน้าที่ นักนิติศาสตร์ และศาล เป็นต้น



ผู้ใช้กฎหมาย 


หมายถึง ผู้ที่ต้องนาเอาข้อกฎหมายไปปรับใช้กับข้อเท็จจริง ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย คือ

(1) ราษฎร ได้แก่ ประชาชนทั่วไป หรือใช้กฎหมายในการประกอบอาชีพ เช่น ทนายความ
(2) เจ้าพนักงานของรัฐ ซึ่งมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องใช้กฎหมาย เช่น นิติกร ตารวจ อัยการ
(3) ศาล ซึ่งเป็นผู้ใช้กฎหมายในการวินิจฉัยและชี้ขาดตัดสินคดี ในกรณีพิพาทระหว่างคู่กรณี




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น