วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2556

กฏหมายและจริยธรรมสื่อสารมวลชน


กฏหมายและจริยธรรมสื่อสารมวลชน







สื่อมวลชนย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น  เผยแพร่ข้อมูลต่างๆ  ไปยังสาธารณชล โดยไม่ถูกจำกัดสิทธิ  แต่สื่อมวลชนต้องแสดงความคิดเห็นหรือข้อความโดยสุจริต  ไม่บิดเบือน เป็นกลาง และเสนอข้อเท็จจริง  กฎหมายจึงเป็นเรื่องที่สื่อมวลชนควรศึกษาเพื่อที่จะไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่นมากเกินไป  นอกเหนือจากข้อกฎหมายที่ใช้บังคับบุคคลนั้นแล้ว  เรื่องจริยธรรมก็เป็นส่วนสำคัญในการนึกคิด ผิดชอบชั่วดีของบุคคลนั้น เราจึงได้นำเรื่องกฎหมายและจริยธรรมสื่อมวลชนมาให้ศึกาาเพื่อเป็นความรู้


ความหมายและความสำคัญ

จริยธรรม 


          หมายถึง ปรัชญาหรือระบบที่เกี่ยวเนื่องด้วยศีลธรรม เป็นหลักประพฤติปฏิบัติสำหรับบุคคลในสังคมใดสังคมหนึ่งหรือในแขนงวิชาชีพใดวิชาชีพหนึ่ง


การสื่อสารมวลชน 


          หมายถึง การนำเสนอข้อมูลข่าวสารโดยผู้ส่งสารผ่านสื่อต่างๆ สู่คนจำนวนมากในเวลาเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน


กฎหมายและจริยธรรมสื่อสารมวลชน 


          หมายถึง คำสั่ง ข้อบังคับ และหลักการเชิงศีลธรรมที่ใช้ควบคุมความประพฤติของบุคคลในวงการสื่อสารมวลชน เพื่อการจัดระเบียบควบคุม และเป็นเครื่องมือในการพัฒนาวงการสื่อสารมวลชน



วิชากฎหมายและสื่อมวลชน


กฎหมายสื่อสารมวลชนเป็นรายวิชาบังคับพื้นฐานทางนิเทศศาสตร์ที่ปัจจุบันทวีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากบัณฑิตนิเทศศาสตร์จาเป็นต้องตระหนักว่าสิทธิและเสรีภาพของปัจเจกชนเป็นเรื่องสำคัญที่รัฐบาลจะต้องคุ้มครองไม่ให้มีการใช้อานาจดังที่เคยใช้มาในอดีต ที่ใช้อานาจรัฐออกกฎหมายใดๆ เพื่อจากัดสิทธิ เสรีภาพของประชาชนและสื่อมวลชน ดังนั้น การตระหนักรู้และเท่าทันเหตุการณ์ปัจจุบันจะช่วยเป็นแนวทางที่ชัดเจนในการทางานด้านสื่อสารมวลชนมากยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้ว่าปัจจุบันนี้ สื่อสารมวลชนมีความสำคัญ มีความศักดิ์สิทธิ์และมีสิทธิ เสรีภาพมากกว่าเดิมอย่างเห็นได้ชัดและได้รับการยอมรับให้เป็นฐานันดรที่ 4 อย่างไร้ขีดจากัด ในแง่ของการกระจายข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อมวลชนได้อย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ การศึกษาในเรื่องของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสื่อสารมวลชนยังเป็นเรื่องที่บุคคลทั่วไป โดยเฉพาะบุคคลที่ประกอบการสื่อสารมวลชนจาเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาเรียนรู้ อย่างน้อยก็เพื่อจะได้ไม่ไปกระทาการอันละเมิดต่อบุคคลอื่น สามารถฟ้องร้องให้รับโทษทั้งอาญา และเรียกค่าเสียหายทางแพ่งได้ ไม่เพียงแต่ทางกฎหมายเท่านั้น เรื่องจริยธรรมก็เป็นประเด็นสาคัญที่จะกำหนดกรอบแนวทางปฏิบัติให้แก่สื่อสารมวลชน ดารงอยู่บนความชอบธรรม ทั้งนี้ ภายใต้แนวคิดใหม่ที่มุ่งเน้นแห่งสิทธิได้รู้หรือสิทธิเข้าถึงข้อมูลข่าวสารตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ซึ่งสื่อมวลชนจะเป็นหลักพึ่งพิงแก่สังคมมากขึ้นโดยเฉพาะการทาหน้าที่ตรวจสอบการใช้อานาจของรัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐที่ไม่เคารพกฎหมายหรือกฎระเบียบใดของราชการ สื่อสารมวลชนจะใช้เสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์ความไม่ชอบธรรม เพราะการใช้สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลของราชการ ผู้บริโภคข่าวสารจะได้ทั้งข้อมูลแห่งความรู้และข่าวสารที่ถูกต้องพร้อมกัน เพื่อการตัดสินใจที่จะไม่เชื่อหรือเชื่ออย่างใดอย่างหนึ่ง ในที่สุดสังคมไทยจะมีการเปลี่ยนแปลงจากสังคมแห่งความเห็น เป็นสังคมแห่งความรู้ต่อไป



บรรณานุกรม
พิศิษฐ์ ชวาลาธวัช. (2544) กฎหมายและจริยธรรมสื่อสารมวลชน กรุงเทพฯ : ดับเบิ้ลนาย พริ้นติ้ง.สุโขทัยธรรมาธิราช,มหาวิทยาลัย. (2531) เอกสารการสอนชุดวิชากฎหมายและจริยธรรมสื่อสารมวลชน หน่วยที่ 1-7. นนทบุรี : สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช .




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น